วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การหยุดลูกฟุตบอลด้วยฝ่าเท้า – หลัง










ขั้นตอนและวิธีการฝึก
Ø อบอุ่นร่างกาย
1. นักเรียนแถวตอน 2 แถว วิ่งเหาะ ๆ รอบสนามฟุตบอล 2 รอบ
2. หมุนคอไปด้านซ้าย 10 ครั้ง ไปด้านขวา 10 ครั้ง
3. หมุนแขนไปด้านหน้า 10 ครั้ง ไปด้านหลัง 10 ครั้ง
4. หมุนเอวไปด้านซ้าย 10 ครั้ง ไปด้านขวา 10 ครั้ง
5. หมุนหัวเข่าด้านซ้าย 10 ครั้ง ด้านขวา 10 ครั้ง
6. หมุนข้อเท้าสลัดข้อมือด้านซ้าย 10 ครั้ง ด้านขวา 10 ครั้ง
7. จับคู่เดาะลูกบอลด้วยข้างเท้าด้านใน
8. จับคู่เดาะลูกบอลด้วยเข่า
9. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อแขนและหัวไหล่
10. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวาย
11. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อโคนขาด้านหลัง
12. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อโคนขาและเอ็นหัวเข่า
13. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อโคนขาด้านหลังและสะโพก
14. ยืดเหยียดกล้ามเนื้อเข่าและข้อเท้า
Øการหยุดลูกบอล
การหยุดลูกบอล หมายถึง การบังคับลูกบอลที่เคลื่อนที่มาในลักษณะต่าง ๆ ให้อยู่กับเท้าบนพื้นดินหรือเคลื่อนไหวไปในลักษณะที่อยู่ในครอบครอง โดยอาศัยการผ่อนตาม เพื่อให้ลูกบอลอยู่ในครอบครอง ซึ่งหมายถึง เท้า ร่างกายจะต้องอยู่ในมุมของลูกบอลที่เคลื่อนที่เข้ามา แล้วบังคับให้ลูกบอลหยุดนิ่งหรือเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ต้องการ
Ø1. การหยุดลูกฟุตบอลด้วยฝ่าเท้า
1.1 การหยุดลูกฟุตบอลที่กลิ้งมากับพื้นด้วยฝ่าเท้า




รายงานการใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล

ชื่อเรื่อง : รายงานการใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2551
ชื่อผู้วิจัย : นายเจษฎา บุญสอน
ปีที่วิจัย : ปีการศึกษา 2551

บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2551 มีวัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม ปีการศึกษา 2551
เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟุตบอล พ 41102 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม ปีการศึกษา 2551 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล ก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อศึกษาพฤติกรรมกลุ่มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม ปีการศึกษา 2551 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนหนองแวงวิทยาคม จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2551 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 19 แผน แบบฝึกเสริมทักษะกีฬาฟุตบอล จำนวน 18 แบบฝึก แบบทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล นำเสนอเป็น 3 ตอน ตอนที่ 1 ผลการใช้แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล ตอนที่ 2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาฟุตบอล พ 41102 ตอนที่ 3 ผลการศึกษาพฤติกรรมกลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า
1 . แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล จำนวน 18 แบบฝึก ประเมินผลหลังจาก ดำเนินการฝึกทักษะแต่ละแบบฝึกแล้ว ผลปรากฏว่า ผลการเรียนรู้จากการใช้แบบฝึกที่ 1-18 มีผลการเรียนรู้ ด้านทักษะ ด้านความรู้ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ค่าเฉลี่ยร้อยละสูงกว่าร้อยละเป็นร้อยละ 80.00 ทุกรายการ
2. ผลการศึกษาผลการเรียนรู้รายวิชาฟุตบอล พ 41102 ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล กำหนดเกณฑ์ผ่านร้อยละ 60 ผลสรุปว่า ก่อนเรียนกับหลังเรียน นักเรียนสอบผ่านร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียนและค่า t – test ก่อนเรียนนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ระดับต่ำ ( % = 54.21 SD = 3.06) หลังเรียน นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ ระดับสูง ( % = 85.09 SD = 1.35) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีความก้าวหน้า( t = 12.30 ) มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
4. การสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม จากการเรียนโดยใช้ แบบฝึกที่ 1-18 พบว่า นักเรียน มีพฤติกรรมกลุ่ม ระดับ ดีมาก